6 ส.ค. ศาลแพ่งนัดฟังคำไต่ส่วนขอคุ้มครองชั่วคราว ปม มาตรา 9 พรก.ฉุกเฉิน ปิดกั้นเสรีภาพสื่อ

6 ส.ค. ศาลแพ่งนัดฟังคำไต่ส่วนขอคุ้มครองชั่วคราว ปม มาตรา 9 พรก.ฉุกเฉิน ปิดกั้นเสรีภาพสื่อ

ศาลแพ่งนัดตัวแทนชื่อมวลชนให้ฟังคำไต่สวนกรณี มาตรา 9 พรก.ฉุกเฉิน ว่าด้วยการห้ามนำเสนอข่าวบิดเบือน สร้างความหวาดกลัว ในวันที่ 6 สิงหาคม เวลา 13.30 เพจเฟซบุ๊ก สื่อศาล ได้โพสต์เอกสารถึงกรณีที่สื่อมวลชนรวมตัวยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ กรณี มาตรา 9 พรก.ฉุกเฉิน ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว ซึ่งห้ามไม่ให้สื่อมวลชน นำเสนอข่าวสร้างความหวาดกลัว เสนอข่าวบิดเบียน หรือ ข่าวปลอม

โดยเอกสารมีใจความว่า “ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะว่า 

ในวันนี้ เวลา 11.00 บริษัท รีพอร์ตเตอร์ โปรดักชั่น จำกัด กับพวกรวม 12 คนยื่นฟ้อง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) เป็นคดีต่อศาลแพ่ง ในคดีหมายเลขดำที่ พ3618/2564 ขอให้ศาลมีคำพิพากษ์เพิกถอนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 พร้อมยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน โดยขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดดังกล่าวและห้ามมิให้นำมาตรการ คำสั่ง หรือ การกระทำใดๆที่สั่งการ ประกาศดังกล่าวมาใช้กับฝ่ายโจทก์ ประชาชน และสื่อมวลชนไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีนี้นั้น

บัดนี้ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ พ3618/2564 ได้ออกมานั่งพิจารณาแล้วคำสั่งว่า “พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ข้อกำหนดดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฏหมาว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจาณาคดีทางปกครอง ตามมาตรา 16 แห่งพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พศ. 2548 อันทำให้การฟ้องคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

ทั้งรัฐธรรมน๔ญแห่งราชอาณาจักรไทย พศ.2560 มาตรา 194 บัญญัติว่าศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีเขตอำนาจทั่วไป คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลนี้ ให้รับคำฟ้อง สำเนาให้จำเลย ให้โจทก์ทั้งสิบสองนำส่งภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันนี้ ส่งไม่ได้ให้แถลงเพื่อดำเนินการต่อใน 15 วัน นับแต่ส่งไม่ได้หากไม่ปฏิบัติถือว่าท้องฟ้อง

แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Coronavirus Disease : COVID-19) ทวีความรุนแรงในชั้นนี้ จึงำไม่อาจกำหนดวันนัดได้ หากสถานการร์คลี่คลายศาลจะแจ้งให้โจทก์ทั้งสิบสองมากำหนดวันนัดเพื่อส่งคำร้อง ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ศาลทำการไต่สวนเสร็จแล้ว

โดยเพื่อให้การพิจารณาคำสั่งขอไต่สวนฉุกเฉินคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาเป็นไปด้วยความรอบคอบ จึงเห็นควรให้นัดฟังคำสั่งวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30”

‘ประยุทธ์’ ลั่นกลาง ครม. จัดการเด็ดขาด หาก ‘ไฟเซอร์หาย’

ประยุทธ์ ประกาศลั่นกลางที่ประชุม ครม. ว่าถ้าหาก ไฟเซอร์หาย ผมไม่เอาไว้แน่ หลังมีกระแสข่าวลือว่าวัคซีนไฟเซอร์จากสหรัฐฯหายปริศนา สำนักข่าว ข่าวสด ได้รายงานบรรยากาศการประชุม ครม. ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยในช่วงหนึ่งของการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้กล่าวถึงการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 โดยขอให้มีการกระจายวัคซีนไปให้ 25 จุดฉีดวัคซีน ในกทม. ประมาณจุดละ 1 พันโดสต่อวัน เพื่อให้มีความเหมาะสมและครอบคลุม

ขณะเดียวกัน ยังพูดถึงเรื่องปริมาณวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับมอบจากสหรัฐอเมริกา ที่โซเชียลมีเดียตั้งข้อสังเกตว่ายอดน้อยกว่าข้อมูลที่มีการเผยแพร่ก่อนหน้านี้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ระบุว่า ตัวเลขที่มีการเผยแพร่ไปก่อนหน้านี้คือ ตัวเลขกลมๆ

แต่เมื่อได้รับมาก็เป็นตัวเลขที่ตรงกับที่สถานทูตสหรัฐฯยืนยัน “ผมก็ตรวจสอบกับสถานทูตสหรัฐฯมาแล้ว ตัวเลขก็ตรงกัน ถ้ามันหาย ผมไม่เอาไว้แน่” นอกจากนี้ นายกฯ ยังสั่งการให้สำรวจว่าบุคลากรด่านหน้ามีใครบ้าง ให้แยกออกมา

เพื่อจะได้พิจารณาค่าตอบแทนให้เป็นพิเศษ เพราะต้องดูแลเยียวยาคนกลุ่มนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนปิดประชุม นายกฯได้ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ช่วยกันแก้ปัญหาโควิด-19 ว่า “ขอบคุณทุกคนที่ทำงานด้วยความเสียสละและอดทน ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเขา สนับสนุน ทั้งเครื่องมือ เพื่อให้มีความพร้อม” รวมถึงกล่าวกับ ครม. ว่า “เราต้องมีความรักสามัคคีกัน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ”

สำหรับการให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบนั้น นายกฯได้สั่งการให้หน่วยงานด้านความมั่นคงไปติดตามการปฏิบัติตามมาตรการที่ ศบค.ได้ประกาศข้อกำหนดออกไป หากมีการฝ่าฝืนกระทำผิดก็ให้ลงโทษ เช่น เรื่องฝ่าฝืนเคอร์ฟิว ขณะเดียวกัน ให้ไปดูกรณีบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดหนึ่ง แต่เข้ามาทำงานอีกจังหวัดหนึ่งซึ่งขณะนี้ถูกประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) แล้วว่าจะช่วยเหลือเยียวยาเขาอย่างไร

ที่ผมกล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลต้องบังคับทุกคนให้มาตรวจโควิด แต่ศักยภาพในการตรวจ RT-PCR ของประเทศเราอยู่ที่ประมาณ 70,000 ตัวอย่างต่อวันและไม่เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือน เม.ย. แล้ว รัฐบาลต้องมีการตรวจเชิงรุกและขยายศักยภาพในการตรวจมากกว่านี้

นอกจากนี้การล็อกดาวน์ให้ไม่สูญเปล่า รัฐบาลต้องเยียวยาประชาชนให้ทั่วถึง ผมจึงขอแสดงความกังวลต่อมาตรการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างนอกระบบประกันสังคมโดยการให้นายจ้างมาเข้าระบบประกันสังคม เพราะจากแผนการดำเนินงานและแผนการเบิกจ่ายเงินเยียวยาตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ 26/2564 เมื่อ 23 ก.ค. 2564 นั้นนายจ้างที่มาขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่จะต้องได้รับการตรวจสอบข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยจากตารางเวลาการดำเนินงาน อาจจะได้เงินเยียวยาล่าช้าถึงเดือนตุลาคม

ผมขอย้ำอีกครั้ง ว่าปัญหาของรัฐบาลประยุทธ์ไม่ใช่ไม่มีงบประมาณมาใช้ในการเยียวยาประชาชนและแก้ปัญหาโควิด-19

แนะนำ : เคล็ดลับต่างๆ | เว็บรวมวิธีต่างๆ How to | จัดอันดับซีรีย์ | รีวิวครีม